วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553

ประเพณีไทย อารยธรรมไทย



ประเพณีไทยอันดีงามที่สืบทอดต่อกันมานั้น ล้วนแตกต่างกันไปตามความเชื่อ ความผูกพันของผู้คนต่อพุทธศาสนา
และการดำรงชีวิตที่สอดประสานกับฤดูกาลและธรรมชาติอย่างชาญฉลาดของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่น ทั่วแผ่นดินไทย เช่น
ภาคเหนือ ประเพณีบวชลูกแก้วของคนไตหรือชาวไทยใหญ่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ภาคอีสาน ประเพณีบุญบั้งไฟของชาวจังหวัดยโสธร
ภาคกลาง ประเพณีทำขวัญข้าวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ภาคใต้ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็น ต้น นอกจากนี้
ประเพณีและอารยธรรมไทยยังนำมาซึ่งการท่องเทียว เป็นที่รู้จักและประทับใจแก่ชาติอื่น นับเป็นมรดกอันลำค่าที่เรา ...
คนไทยควรอนุรักษ์และสืบสานให้ยิ่งใหญ่ตลอดไป

ประเพณีแข่งเรือ จ.บุรีรัมย์




ประเพณีพื้นบ้านที่แสดงให้เห็นถึงวิธีชีวิตของคนไทย
อันผูกพันกับสายน้ำมาเนิ่นนานโดยในฤดูฝนเมื่อเสร็จ
สิ้นการดำนา นับจากเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป จนถึงราว
เดือนพฤศจิกายนที่น้ำหลากเต็มตลิ่ง ชาวบ้านก็จะจัด
งานแข่งเรือกันขึ้นเพื่อความสนุกสนานและการ
สมัครสมานสามัคคีกัน

ประเพณีตักบาตรดอกไม้


ประเพณีตักบาตรดอกไม้เป็นประเพณีที่สำคัญของอำเภอพระพุทธบาท โดยในวันเข้าพรรษาซึ่ง ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จะมีประชาชนจำนวนมากพากันไปทำบุญตัก บาตรที่วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร เสร็จจากการทำบุญตักบาตรใน ตอนเช้าแล้ว ก็จะพากันไปเก็บดอกไม้ชนิดหนึ่งเรียกว่า "ดอกเข้าพรรษา" มี 4 สี คือ สีเหลือง สีขาว สีม่วง และสีส้ม ลักษณะคล้ายต้นกระชายหรือ ต้นขมิ้น ดอกไม้ชนิดนี้ชอบขึ้นตามไหล่เขา และจะมีเฉพาะช่วงเข้าพรรษา เท่านั้น
การตักบาตรดอกไม้จะทำในตอนบ่าย ในขณะที่พระภิกษุอุ้มบาตรเดินขึ้น บันได จะรับดอกไม้จากประชาชนเพื่อนำไปนมัสการรอยพระพุทธบาท หลังจากนั้นก็จะเดินลงมา ตลอดทางจะมีชาวบ้านนำขันน้ำลอยด้วยดอก พิกุล คอยอยู่ตามขั้นบันไดเพื่อล้างเท้าให้ ด้วยความเชื่อที่ว่าจะเป็นการ ชำระบาปที่ได้กระทำมาให้หมดสิ้นไป

พิธีแห่เทียนพรรษา


งานแห่เทียนพรรษาเป็นประเพณีปฏิบัติของชาวพุทธ ที่ได้กระทำมาแต่ครั้งพุทธกาล เหตุที่ทำให้เกิดประเพณีเพราะสมัยก่อน มีภิกษุได้เดินไปเหยียบย่ำข้าวกล้าในนาของชาวบ้านทำให้ได้รับความเดือดร้อน ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้อนุญาติให้ภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษาที่วัดเป็นเวลา 3 เดือนคือในช่วงวันแรมหนึ่งค่ำเดือนแปด ถึงวันขึ้นสิบห้าค่ำเดือน 11 ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดการเก็บเกี่ยวของชาวบ้านพอดีในช่วงเข้าพรรษานี้ประชาชนจะนำเทียนไปถวายพระภิกษุเพราะเชื่อว่าจะทำให้ตนเฮลียวแลาดมีไหวพริบปฏิภาณประดุจขี้ผึ้งที่ใช้ทำเทียนที่ได้จากรังผึ้ง
ส่วนความเป็นมาของเทศกาลแห่เทียนของชาวเมืองอุบลนั้น แต่ก่อนไม่ได้แห่เทียนเหมือนในปัจจุบัน แต่จะทำการฟั่นเทียน ยาวรอบศีรษะไปถวายพระเพื่อจุดบูชาในช่วงจำพรรษา นอกจากเทียนแล้วยังมีน้ำมัน เครื่องไทยทาน และผ้าอาบน้ำฝนพอมาถึงสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิ์ประสงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบล ครั้งหนึ่งได้มีการแห่บั้งไฟและได้เกิดเรื่องมีการตีกันทำให้มีคนเสียชีวิต จึงทำให้ถูกเลิกการแห่บั้งไฟ และได้เปลี่ยนมาเป็นการแห่เทียนแทน

การแห่เทียนในยุคแรกๆชาวบ้านจะร่วมบริจาคเทียน แล้วนำเทียนมามัดติดกับลำไม้ไผ่ติดกระดาษเงินสีทองตัดลายฟันปลามาติดปิดรอยต่อ เสร็จแล้วนำต้นเทียนมัดติดกับปิ๊บน้ำมันก๊าด โดยใช้เกวียนหรือล้อเลื่อนลากจูง และมีขบวนฟ้อนรำด้วยต่อมาได้มีการหล่อดอกจากผ้าพิมพ์แล้วมีการประยุกต์ประดับฐานต้นเทียนด้วยรูปแกะสลักสัตว์ ลายไม้ฉลุทำให้ต้นเทียนดูสวยงามมากยิ่งขึ้น หลังจากนั้นประชาชนก็เห็นความสำคัญประเพณีแห่เทียนมากขึ้น จังหวัดก็ได้ส่งเสริมให้เป็นงานประจำปีในช่วงนั้นมีการประกวดต้นเทียน 2 ประเภท คือ ประเภทมัดเทียนรวมกันแล้วติดกระดาษสี กับประเภทพิมพ์ลายติดลำต้น การทำต้นเทียนก็ได้มีการพัฒนามาเรื่อยๆ จนมาถึงการแกะสลักลงบนต้นเทียนโดยตรง ซึ่งเป็นการแกะที่ต้องอาศัยฝีมือเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาประเพณีแห่เทียนพรรษาจึงได้จดการประกวด3 ประเภท โดยเพิ่มประเภทแกะสลักลงบนต้นเทียนลงไป
งานประเพณีแห่เทียนพรรษาได้รับการส่งเสริมจากทางจังหวัดมากขึ้น จนทำให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสนับสนุนให้เป็นงานประเพณีระดับชาติ ทำให้งานแห่เทียนพรรษาเมืองอุบลเป็นที่ยอมรับของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เดินทางมาเที่ยวกันมากมาย

พิธีหล่อเข้าเทียนพรรษา

พิธีหล่อเข้าเทียนพรรษา มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ครั้นโบราณ เพราะเมื่อสมัยก่อนยังไม่มีไฟฟ้าใช้อย่างในปัจจุบัน เวลาพระภิกษุสามเณรจะสวดมนต์ท่องตำรา ต้องอาศัยแสงสว่างจากคบ ตะเกียง และเทียนไขชาวบ้านจึงพร้อมใจกันหล่อเทียนถวาย โดยการเรี่ยไรขี้ผึ้งจากผู้มีจิตศรัทธา เมื่อมีมากพอแล้วจึงทำการหล่อที่วัดหรือสถานที่จัดงาน ทำการตกแต่งประดับประดาและแกะสลักลวดลาย มีการประกวดความสวยงามกันอย่างสนุกสนานครื้นเครง
ก่อนถึงวันเข้าพรรษา 1 วัน จะจัดให้มี
การฉลองต้นเทียน กลางคืนมีมหรสพ นิมนต์พระมาสวดเจริญพระพุทธมนต์ วึ่งพิการเหล่านี้แล้วแต่จะเห็นสมควร พอรุ่งเช้าเป็นวันเข้าพรรษาจึงทำการแห่ต้นเทียนไปถวายตามวัด
อานิสงส์ของการหล่อเทียนหรือถวายเทียนพรรษาแก่พระภิกษุ ถือกันว่าจะทำให้เป็นผู้มีปัญญาดีเจริญก้าวหน้า เหมือนดังแสงเทียนที่สว่างในยามค่ำคืน ซึ่งพระภิกษุสมัยก่อนใช้เป็นแสงสว่างในการอ่านหนังสือธรรมะและประกอบกิจของสงฆ์

ประเพณีการตักบาตรเทโว

ประวัติความเป็นมา
ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้และเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดา โดยจำพรรษาอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา 1 พรรษา และเมื่อออกพรรษาแล้วพระองค์ได้เสด็จกลับโลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสนครการที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกตามศัพท์บาลีว่า เทโวโรหณะ ในครั้งนั้น บรรดาพุทธศาสนิกชนผู้มีความสรัทธาเลื่อมใสเมื่อทราบข่าว ต่างพร้อมใจกันไปรอรับเสด็จกันอย่างเนืองแน่ จนถือเป็นประเพณีสืบทอดกันมาจนถึงทุกวันนี้

ประวัติควายไทย

ควายไทยจัดเป็นควายที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในบรรดาควายเลี้ยงแถบเอเชีย ควายเลี้ยงมีสองประเภทใหญ่ ๆ คือ ควายแม่น้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นควายพันธุ์อินเดีย จัดเป็นควายพันธุ์นม และควายปลัก ซึ่งรวมควายไทยและควายงานในประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย เช่น ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย พม่า เขมร ควายไทยมีเลี้ยงกันในทุกภาคของประเทศไทย แต่ส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังรายละเอียดจำนวนควายในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทยในตารางที่ ๙


ตารางที่ ๙ จำนวนควายในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๑สำนักงานสถิติแห่ง ชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี



บางคนเรียกควายว่า กระบือ เข้าใจว่ากระบือ เป็นคำต่างประเทศ ภาษาเขมรเรียกควายว่า กระบือหรือกระบาย ชาวฟิลิปปินส์เรียกกระบือว่า คาราบาว และชาวมาเลเซียและอินโดนิเซียเรียกว่า เคอรเบา ควายไทยมีขนาดใหญ่กว่าวัวประมาณสองเท่า ควายตัวผู้โตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ย ๖๐๐ - ๖๕๐ กิโลกรัม ควายตัวเมียโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ย ๔๐๐-๕๐๐ กิโลกรัม ควายมีลำตัวใหญ่ กว้างและลึก มีท้องกางโต แสดงให้เห็นความจุ ท้องย้อย บั้นท้ายลาด ขายาว มีกระดูกใหญ่ หัวมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับขนาดตัว ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีเขายาวโค้งงองุ้มเข้าหากันไปด้านหลัง เขาควายมีรูปร่างแบน ปลายเขาเรียวแหลม มองดูน่ากลัว ควาย ไทยมีสองสี คือ ควายสีเทาหรือดำ และควายเผือกซึ่งมีสีขาว ควายมีต่อมเหงื่อน้อยกว่าวัว จึงถ่ายเทความร้อนออกจากร่างกายได้ไม่ดีเท่าวัว เวลาอากาศร้อน ควายชอบนอนแช่ปลักโคลน เพื่อเป็นการผ่อนคลายความร้อนของร่างกาย ถ้าควายโดนอากาศร้อนนาน ๆ จะแสดงอารมณ์หงุดหงิด เปลี่ยวและดุร้าย จนอาจทำร้ายผู้เข้าใกล้ได้หากไม่ระมัดระวัง ควายมักใช้เขาอันยาวโง้งเหวี่ยงแทงเสยไปด้านหลังด้วยความแรง แต่โดยทั่วไป ควายเป็นสัตว์เลี้ยงที่เชื่องและเชื่อฟังผู้เลี้ยง จึงฝึกใช้งานได้ง่าย ลูกควายแรกเกิดมีน้ำหนักประมาณ ๒๕-๓๕ กิโลกรัม ตัวผู้โตกว่าตัวเมีย แม่ควายให้นมพอเลี้ยงลูก นมควายมีไขมันสูง ๗-๙ เปอร์เซ็นต์ สูงกว่านมวัวซึ่งมีไขมันเพียง ๓-๔ เปอร์เซ็นต์ แม่ควายเลี้ยงลูกเก่ง ลูกควายจะดูดนมไปจนกว่าแม่จะหยุดให้นม จึงเริ่มรู้จักเล็มหญ้ากินเอง ควายสาวมีอายุผสมพันธุ์ได้ตั้งแต่ ๒-๓ ปีขึ้นไป มักพบบ่อย ๆ ว่า ควายตัวเมียให้ลูกควาย ตัวแรกเมื่ออายุ ๔-๕ ปี แม่ควายอาจให้ลูกได้ถึง ๑๐ ตัวตลอดชีวิต แต่จะให้ลูกที่แข็งแรงที่สุดเมื่อแม่ควายมีอายุระหว่าง ๘-๙ ปี ซึ่งควรให้ลูกเป็นตัวที่ ๔ หรือ ๕ แม่ควายที่ได้รับอาหารและการเลี้ยงดูดี อาจให้ลูกปีละตัว แต่โดยทั่วไปจะให้ลูกสองตัวในสามปี ควายตัวผู้เริ่มใช้ผสมพันธุ์ตั้งแต่อายุ ๓ ปีขึ้นไป แม่ควายจะตกไข่ และแสดงอาการเป็นสัดครั้งหนึ่งในรอบ ๒๒ วัน เมื่อทำการผสมพันธุ์ระยะนี้ แม่ควายจะตั้งท้อง เวลาอุ้มท้องของแม่ควายนานประมาณ ๓๑๐ วัน แต่ช่วงการตกลูกหนึ่งตัว อาจกินระยะหนึ่งปีครึ่งขึ้นไป ควายตัวผู้หนึ่งตัว ควรคุมฝูงตัวเมียเพื่อผสมพันธุ์ประมาณ ๓๐-๔๐ ตัว ต่อหนึ่งฤดูผสมพันธุ์ ควายที่ถูกฆ่าและชำแหละแต่งซากเรียบร้อยแล้ว น้ำหนักซากประมาณ ๔๕-๕๐ เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักก่อนฆ่า เนื้อควายมีมัดกล้ามเนื้อค่อนข้างใหญ่ จึงดูหยาบกว่าเนื้อวัว เนื้อควายมีสีคล้ำกว่าเนื้อวัว ซึ่งคุณภาพของเนื้อจะไม่แตกต่างกัน หากวัวและควายได้รับอาหารและการเลี้ยงดูเหมือน ๆ กัน